วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553

งานประดิษฐ์ยามว่าง


ข็มกลัดหัวใจ

อุปกรณ์

  • ปูนปลาสเตอร์
  • อ่างผสม และช้อนผสม
  • แบบพิมพ์รูปหัวใจ สามารถใช้ถาดวุ้น , ช็อคโกแลต
  • สีอะคลิลิคสีสดใสตามชอบ
  • สเปรย์เคลือบเงา
  • เข็มกลัด



วิธีทำ

  • ผสมปูนปลาสเตอร์กับน้ำในอ่านผสม คนให้เข้ากัน
  • หยอดส่วนผสมลงใบแบบพิมพ์พลาสติก ระวังอย่าให้ล้นหรือสูงกว่าขอบ
  • ทิ้งไว้ให้ปูนเซตตัว 1- 2 นาที วางเข็มกลัดลงไปตามรูป
  • เมื่อแห้งดีแล้วนำออกจากพิมพ์
  • ระบายสีตกแต่ง ทิ้วไว้จนแห้งสนิท
  • เมื่อสีแห้งสนิท พ่นสเปร์ยเคลือบเงาทับ










วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553


ชาวเกาหลีเชื่อว่า "อาหาร" คือยาในชีวิตประจําวัน


หากกินอาหารที่ไม่สอดคล้องกับสภาพร่างกายแล้ว อาจเจ็บป่วยได้ และหากเป็นการกินที่ไม่เหมาะสม เช่นเป็นเวลานาน โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นย่อมยากที่จะรักษาให้หายได้

ดังนั้น ชาวเกาหลีจึงมักใช้อาหารเป็นยา เช่น โสม ตังกุย และพืชผักสมุนไพรอื่นๆ ความจริงสมัยก่อนการปรุงอาหารของเกาหลีไม่นิยมใช้เครื่องปรุงรสมากนัก และพริก ก็เพิ่งแพร่หลายเมื่อศตวรรษที่ 16 ผ่านโปรตุเกส สเปน เข้ามาทางญี่ปุ่น

คนเกาหลีโบราณคิดว่า นอกจากทําให้อิ่มท้องแล้ว อาหารยังมีผลต้านการบํารุงร่างกาย "อาหาร-การโภชนาการ" กับ "การแพทย์" จึงมาจากแหล่งเดียว และพืชผักทุกชนิดล้วนมีสรรพคุณทางยา ใช้รักษาโรคภัยและบํารุงร่างกาย ในวังหลวงจึงมีแพทย์ทางโภชนาการคอยดูแลเรื่องอาหารการกิน โดยดูจากพระพลานามัยของพระราชา หยินและหยาง 5 ธาตุ ปรับเป็นสูตรอาหาร 5 รส บางครั้งก็ให้งดของแสลง เพื่อป้องกันโรคภัย ทําให้นางกํานัลต้องพลอยมีความรู้ด้านนี้ไปด้วย

นอกจากเน้นความอร่อยแล้ว สุขภาพของพระราชาก็เป็นสิ่งสําคัญ อาหารในวังหลวงนอกจากมีนางกํานัลคอยดูแลแล้ว บางส่วนก็ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งก็คือพ่อครัวมืออาชีพที่ชํานาญเรื่องอาหาร

จารึกทางประวัติศาสตร์ในราชวงศ์ "โชซอน" ว่ากันว่า การเสวยของพระราชาเกาหลีมักจะมีข้าวสองชาม ชามหนึ่งเป็นข้าวธรรมดา ส่วนอีกชามเป็นข้าวผสมข้าวเหนียว แล้วหุงด้วยน้ำถั่วแดง เพราะเชื่อว่าการกินข้าวแดงจะช่วยสะเดาะเคราะห์ให้พ้นภัย สมัยก่อนพระราชาเกาหลีจะเสวยวันละ 5 มื้อ มื้อเช้าที่สุดก็ประมาณ ตี 5 - ตี 6 เรียกว่า "มื้อรุ่งอรุณ" ส่วนมื้อเช้าประมาณสิบโมงเช้า ต่อด้วยมื้อเที่ยง มื้อเย็น และสุดท้ายคือมื้อดึก ส่วนใหญ่จะเป็นผลไม้ ขนมหวาน หรือเกี๊ยว

อาหารราชสํานักเป็นเรื่องราวความพิถีพิถันในการปรุงแต่งให้สวยงาม และเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง โดยอาหารอันเป็นเอกลักษณ์ของอาหารราชสํานัก คือ ซอล โล และ กูล ชอน พัน ที่มีวิธีการเสิร์ฟตามแบบประเพณีนิยม สิ่งสําคัญของอาหารราชสํานัก คือ พ่อครัวที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี จะต้องรู้จักคัดเลือก อาหารราชสํานักกับอาหารทั่วไปของเกาหลีนั้นไม่แตกต่างกันมากนัก

เพราะทั้งอาหารในวังและนอกวังนั้น ก็ส่งอิทธิพลระหว่างกัน หากจะมองถึงความแตกต่างอาหารราชสํานักจะไม่เน้นความจัดจ้านของรสชาติและเผ็ดเท่าอาหารทั่วไป